พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านฤมลมณีรัตน
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านฤมลมณีรัตน | |
---|---|
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 2 พระองค์เจ้าชั้นตรี | |
ราชสกุล | เดชาติวงศ์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร |
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านฤมลมณีรัตน พระนาม หม่อมเจ้านฤมล เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร ต้นราชสกุลเดชาติวงศ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่เจ้าจอมมารดานิ่ม ธิดาเจ้าพระยาพระคลัง (หน)[1][2] ประสูติเมื่อใดไม่ปรากฏ แต่คาดว่าหลัง พ.ศ. 2354[3] เพราะประสูติหลังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงเดือน[4]
ในปี พ.ศ. 2395 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริจะสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร พระเจ้าพี่ยาเธอที่ทรงนับถือสนิทคุ้นเคย จึงสถาปนาหม่อมเจ้านฤมล พระธิดาองค์ใหญ่ในกรมพระยาเดชาดิศร และเป็นพระเจ้าหลานเธอผู้ใหญ่พระองค์หนึ่งในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านฤมลมณีรัตน[5] พระนามมีความหมายว่า แก้วมณีอันบริสุทธิ์[6] เพราะประพฤติพระองค์สนองพระเดชพระคุณกรมพระยาเดชดิศรมาตลอด ขวนขวายงานการต่าง ๆ เป็นอันมาก สมควรเป็นพระองค์เจ้า[4]
พระองค์สิ้นพระชนม์ปีใดไม่ปรากฏ แต่ทราบว่ามีพระชันษา 54 ปี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สมประสงค์ ทรัพย์พาลี. สายใยในราชวงศ์จักรี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560, หน้า 64-65
- ↑ ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์, 2554, หน้า 260-261
- ↑ กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 38. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2020-04-19.
- ↑ 4.0 4.1 จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1 (PDF). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 2545. p. 116-117.[ลิงก์เสีย]
- ↑ เล็ก พงษ์สมัครไทย. เฉลิมพระยศเจ้านายฝ่ายในในรัชกาลที่ ๑-๙. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2552, หน้า 26
- ↑ ไพกิจ คงเสรีภาพ (2553). พระนามพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์จักรี : การวิเคราะห์โครงสร้างและความหมาย (PDF). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. p. 130.